เมนู

คานนิคม และราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร.

[มหาโจรในพระศาสนามี 5 จำพวก]


ข้อว่า อยํ ภิกฺขเว ปฐโม มหาโจโร มีความว่า ภิกษุผู้เลวทราม
เป็นเหมือนโจรผู้ตัดที่ต่อเป็นต้น นี้ พึงทราบว่า เป็นมหาโจรจำพวกที่ 1
เพราะมิใช่จะหลอกลวงตระกูลหนึ่ง หรือสองตระกูลเท่านั้นก็หาไม่ , โดยที่แท้
ยังหลอกลวงมหาชน ถือเอาปัจจัย 4 ด้วย. ส่วนภิกษุเหล่าใด ผู้เชี่ยวชาญใน
พระสูตร เชี่ยวชาญในพระอภิธรรม หรือทรงพระวินัย เมื่อภิกษาจารไม่สมบูรณ์
เที่ยวจาริกไปตามชนบทบอกบาลี กล่าวอรรถกถา ยังชาวโลกให้เลื่อมใสด้วย
อนุโมทนาด้วยธรรมกถา และด้วยความเรียบร้อยแห่งกิริยาท่าทาง , ภิกษุเหล่านั้น
เขาสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว พึงทราบว่า เป็นผู้ยังพระ-
ศาสนาให้รุ่งเรื่อง สืบต่อแบบแผนและประเพณีไว้.
บทว่า ตถาคตปฺปเวทิตํ ความว่า อันพระตถาคตแทงตลอดแล้ว
คือ กระทำให้ประจักษ์แล้ว หรือยังผู้อื่นให้รู้แล้ว.
สองบทว่า อตฺตโน ทหติ มีความว่า ภิกษุผู้เลวทราม เทียบเคียง
บาลีและอรรถกถา อยู่ในท่ามกลางบริษัท กล่าวพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เลื่อมใส ด้วยเสียงอันไพเราะ ถูกวิญญูชนผู้เกิดมีความอัศจรรย์ใจไต่ถามในที่สุด
แห่งธรรมกถาว่า โอ ! ท่านผู้เจริญ บาลีและอรรถกถา บริสุทธิ์ , พระคุณเจ้า
เรียนเอาในสำนักของ ใคร ? ดังนี้ กล่าวว่า ใครจะสามารถให้คนเช่นเราเรียน
แล้วไม่แสดงอาจารย์ประกาศธรรมวินัยที่ตนแทงตลอดเอง คือ ที่คนได้บรรลุ
ด้วยสยัมภูญาณ. ภิกษุผู้ขโมยธรรมที่พระตถาคตทรงบำเพ็ญบารมี สิ้น 4 อสงไขย
ยิ่งด้วยแสนกัป ได้ตรัสรู้โดยแสนยากลำบาก นี้ จัดเป็นมหาโจรจำพวกที่ 2.

ข้อว่า สุทฺธํ พฺรหฺมจารึ ได้แก่ ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว.
ข้อว่า ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ จรนฺตํ ได้แก่ เพื่อนพรหมจารีผู้
ประพฤติจริยาที่ประเสริฐ อันหาอุปกิเลสมิได้. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อนเป็นต้นแม้อื่น ตั้งต้น
แต่พระอนาคามีตราบเท่าถึงปุถุชนผู้มีศีล.
ข้อว่า อมูลเกน อพฺรหฺมจริเยน อนุทฺธํเสติ มีความว่า ภิกษุ
ผู้เลวทราม ย่อมกล่าวหา คือโจท ด้วยอันติมวัตถุ ซึ่งไม่มีอยู่ในบุคคลนั้น.
ภิกษุผู้ลบหลู่คุณที่มีอยู่ ขโมยอริยคุณนี้ จัดเป็นมหาโจรจำพวกที่ 3.
ในสองบทว่า ครุภณฺฑานิ ครุปริกฺขารานิ นี้ พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้:- ในอทินนาทานสิกขาบท ภัณฑะมีราคา 5 มาสก ท่านจัดว่า ครุภัณฑ์
ในคำว่า ชน 4 คน ชวนกันลักครุภัณฑ์1 นี้ฉันใด , ในสิกขาบทนี้ จะได้
จัดฉันนั้น หามิได้, โดยที่แท้ ภัณฑะที่จัดเป็นครุภัณฑ์ ก็เพราะเป็นของที่
ไม่ควรจำหน่าย โดยพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภัณฑะ 5 หมวดนี้
ไม่ควรจำหน่าย อย่าจำหน่าย, สงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคล แม้จำหน่ายไป
ก็ไม่เป็นอันจำหน่าย ; ภิกษุใดพึงจำหน่าย ปรับอาบัติถุลลัจจัยแก่ภิกษุนั้น ;
ภัณฑะ 5 หมวด คือ อะไรบ้าง ? คือ อาราม อารามวัตถุ ฯลฯ ภัณฑะไม้
ภัณฑะดิน2 บริขารที่จัดเป็นครุบริขาร โดยความเป็นบริขารสาธารณะ เพราะ
เป็นของไม่ควรแจก โดยพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บริขาร 5 หมวดนี้
ก็ไม่ควรแจก อย่าแจก , สงฆ์หรือคณะ หรือบุคคล แม้แจกไปแล้ว ไม่เป็น
อันแจก, ภิกษุ ใดพึงแจกปรับอาบัติถุลลัจจัยแก่ภิกษุนั้น ; บริขาร 5 หมวด
คืออะไรบ้าง ? คืออาราม อารามวัตถุ ฯลฯ ภัณฑะไม้ ภัณฑะดิน.3 คำใด
//1 วิ. ปริวาร. 8/ 530 2 - 3 วิ จุล. 7/ 133-4.

ที่ควรกล่าวในบทว่า อาราโม อารามวตฺถุ เป็นต้น ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนั้น
ทั้งหมดในวรรณนาแห่งสูตร ซึ่งมาในขันธกะว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว อวิสชฺ-
ชิยานิ
นั่นเทียว.
ข้อว่า เตหิ คิหี สงฺคณหาติ มีความว่า ให้ครุภัณฑ์ ครุบริขาร
มีอารามเป็นต้นเหล่านั้น สงเคราะห์ คืออนุเคราะห์พวกคฤหัสถ์ .
บทว่า อุปลาเปติ มีความว่า ทำให้พวกคฤหัสถ์บ่นถึง คือ ให้เป็น
ผู้ติดใจ ได้แก่ ให้มีความรักใคร่ อย่างนี้ว่า ดีจริง ! พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา.
ภิกษุผู้ลักครุบริขาร ที่ไม่ควรจำหน่าย และไม่ควรแจกโดยความเป็นอย่างนั้น
สงเคราะห์คฤหัสถ์นี้ จัดเป็นมหาโจรพวกที่ 4. ก็แล ภิกษุนั้น เมื่อจำหน่าย
ครุภัณฑ์นี้ เพื่อสงเคราะห์สกุล ย่อมต้องกุลทูสกทุกกฏด้วย ย่อมเป็นผู้ควร
แก่ปัพพาชนียกรรมด้วย , เมื่อจำหน่ายด้วยความเป็นผู้มีความเป็นใหญ่เหนือ
ภิกษุสงฆ์ ย่อมต้องถุลลัจจัย, เมื่อจำหน่ายด้วยไถยจิต พึงให้ตีราคาสิ่งของ
ปรับอาบัติแล.
ข้อว่า อยํ อคฺโค มหาโจโรมีความว่า ภิกษุนี้ที่ลักฉ้อโลกุตรธรรม
ซึ่งสุขุมละเอียดนัก เป็นไปล่วงการถือเอาด้วยอินทรีย์ 5 นี้ จัดเป็นโจรใหญ่
ที่สุดของมหาโจรเหล่านั้น, ขึ้นชื่อว่าโจรผู้เช่นกับภิกษุนี้ ย่อมไม่มี.
ถามว่า ก็โลกุตรธรรม บุคคลอาจลวง คือลักฉ้อเอา เหมือนทรัพย์
มีเงินและทองเป็นต้นหรือ ?.
แก้ว่า ไม่อาจ , ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุใด กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม ที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง. แท้จริง ภิกษุนี้
ย่อมกล่าวอวดธรรมที่ไม่มีอยู่ในตนอย่างเดียวว่า ธรรมนี้ของเรา มีอยู่. แต่ไม่
อาจให้อุตริมนุสธรรมนั้นเคลื่อนไปจากที่ได้ หรือไม่อาจทำให้มีอยู่ในตนได้.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า เป็นโจรเล่า?.
แก้ว่า เพราะว่าภิกษุนี้ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมนั้นแล้ว ถือเอา
ปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะการอวดคุณที่ไม่มีอยู่ ; เพราะเหตุนั้น ปัจจัยเหล่านั้น
ย่อมเป็นอันเธอผู้ถือเอา (ด้วยการอวดธรรมที่ไม่มีอยู่) อย่างนั้น ล่อลวง คือ
ลักฉ้อ เอาด้วยอุบายอันสุขุม. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่ก้อนข้าวของชาว
แว่นแคว้น อันภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมย.
อันเนื้อความในคำว่า ตํ กิสฺส เหตุ นี้ พึงทราบดังต่อไปนี้.
เราได้กล่าวคำใดว่า ภิกษุใด กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี ไม่จริง, ภิกษุนี้-
เป็นยอดมหาโจร; ถ้าจะมีผู้โจทก์ท้วงว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? คือ เราได้
กล่าวคำนั้น ด้วยเหตุอะไร ? เราพึงเฉลยว่า เพราะเหตุที่ก้อนข้าวของชาว
แว่นแคว้น อันภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมยแล ภิกษุทั้งหลาย.
อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น เป็นอัน
ภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยไถยจิต ; เพราะเหตุนั้น เราจึงได้กล่าวคำนั้น .
จริงอยู่ โว ศัพท์ ในคำว่า เถยฺยาย โว นี้ เป็นนิบาตลงใน
อรรถสักว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม เหมือน โว ศัพท์ ในคำว่า เย หิ โว
อริยา อรญฺญวนปฏฺฐานิ
เป็นอาทิ แปลว่า จริงอยู่ พระอริยเจ้าทั้งหลายแล
ย่อมเสพราวไพรในป่า. เพราะเหตุนั้น ผู้ศึกษาไม่พึงเห็นเนื้อความแห่ง โว
ศัพท์นั้น อย่างนี้ว่า ตุมฺเหหิ ภุตฺโต แปลว่า อันท่านทั้งหลายฉันแล้ว ดังนี้.

[แก้อรรถนิคมคาถา]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำเนื้อความนั้นนั่นแล ให้
แจ่มแจ้งขึ้นโดยคาถา จึงตรัสพระคาถาว่า อญฺญถา สนฺตํ เป็นต้น .